วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

การใช้ Google Form เพื่อสร้างแบบทดสอบ ร่วมกับการออกใบประกาศออนไลน์ Certify'em

   Google Form เป็นบริการจากบริษัท Google ที่ใช้สร้างแบบสอบถามหรือรวบรวมข้อมูลอื่น ๆ ทางออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายกรณี เช่น 

        - การวางแผนการจัดงานต่าง ๆ

        - การสำรวจความพึงพอใจหรือความเห็น

        - การเก็บข้อมูลแทนการกรอกแบบฟอร์มกระดาษ

        - การทำแบบทดสอบ

        - การลงคะแนนเสีย

ขั้นตอนการทำแบบทดสอบออนไลน์ ร่วมกับการออกใบประกาศออนไลน์ Certify'em

1. ให้ลงชื่อเข้าใช้ Google Account เพื่อใช้บริการของ Google ก่อน 

2. เมื่อลงชื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว หน้าเว็บของผู้ใช้งานจะกลับมายังหน้า Google search 

3. คลิกไปที่ "Application -> Drive" เพื่อไปยัง Google Drive


4. เริ่มต้นสร้างแบบฟอร์ม โดยไปที่ "ใหม่ -> เพิ่มเติม -> Google Form"



5. เมื่ออยู่หน้า Google Form แล้ว ให้เลือกที่เครื่องหมาย "..." มุมขวาสุด เพื่อทำการ Install Add-Ons 

6. กดส่วนของการค้นหา เพื่อเพิ่ม Add ons Certify'em 



7. ทำการติดตั้ง Certify'em  เพื่อให้แบบทดสอบสามารถออกใบประกาศให้ได้ตามที่ต้องการ 


8. เมื่อติดตั้ง Add ons Certify'em  เป็นที่เรียบร้อย Google Form จะเปลี่ยนไปดังภาพ



9. เมื่อได้แบบทดสอบที่ใช้คู่กับ Certify'em เป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไป คือการออกแบบโจทย์คำถาม เพื่อทำการทดสอบ ให้เราตั้งชื่อแบบทดสอบ และเพิ่มชุดคำถามดังภาพ "ชื่อ - สกุล" ชื่อผู้เข้าร่วมทดสอบและจะปรากฎในใบประกาศออนไลน์ 



10 . หลังจากที่เราได้ออกแบบ แบบทดสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไป คือการไปกำหนดค่าของใบประกาศ Certify'em  ให้เราเข้าไปที่ "Add ons " และเลือก "Show Certify'em Control"

11 . ทำการตั้งค่า Certify'em และเลือกรูปแบบ  Certify'em ตามที่ต้องการ


12. เปิดใช้งาน Certify'em โดยเลือก ที่ Status ให้กด Turn On


13. เลือก More >> Advance เพื่อทำการตั้งค่าเพิ่มเติมให้กับใบประกาศ ออนไลน์ และเลือกดูตัวอย่างจาก Template 



14. หากต้องการดูตัวอย่างใบประกาศ ออนไลน์ ให้เลือกรูปใบประกาศที่ Template และทำการปรับแต่งแก้ไขให้ใบประกาศอยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้งานต้องการ


15. และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการตั้งค่าต่างๆ ของ Certify'em ผู้ใช้งานสามารถดูตัวอย่างแบบสอบถามออนไลน์ได้โดยการ ส่ง example ไปยัง email ของผู้ออกแบบ และตรวจสอบแบบสอบถามออนไลน์ได้ผ่าน email address ของผู้ใช้งาน 


16. เมื่อต้องการให้ผู้ร่วมเข้าทดสอบ สอบผ่านแบบทดสอบออนไลน์ให้เลือก Send Form และให้ผู้ร่วมทดสอบทำการสอบ เมื่อผู้ใช้งานทดสอบผ่าน ระบบจะดำเนินการส่งใบประกาศหลังผ่านการทดสอบเข้าไปยัง email ของผู้ใช้งานทันที 

17. สำหรับขั้นตอนการใช้งาน Google Form ร่วมกับ Certify'em เพื่อส่งใบประกาศออนไลน์ก็จะมีขั้นตอนการทำงานหลักดังด้านบน ผู้ใช้งานสามารถนำขั้นตอนต่างๆ ไปประยุกต์ใช้งานกับการออกแบบทดสอบร่วมกับการส่งใบประกาศออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ได้ตามต้องการ จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการทำงานและดำเนินการนั้น ง่ายสะดวกและร่วดเร็วมาก 

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การใช้งาน Draw.io (เครื่องมือสร้างไดอะแกรม แบบออนไลน์)

            การใช้งาน Draw.io (เครื่องมือสร้างไดอะแกรม แบบออนไลน์) เพื่อออกแบบและสร้างไดอะแกรมต่างๆ ร่วมกับ Google Drive, Dropbox, OneDrive, Browser หรือ Device. 

จุดเด่นของ Draw.io

1. สามารถเลือกการบันทึกงานได้ 5 แบบ คือ Google Drive, Dropbox, OneDrive, Browser หรือ Device.

2. สามารถเลือก Shapes ได้หลากหลายแบบมากกว่า 27 กลุ่ม

3. สามารถสร้าง Shapes เองได้

4. สามารถสร้าง Connection แบบ Auto.

5. ใช้งานได้หลายภาษา (Multi Language)

6. บันทึกอัตโนมัติเมื่อมีการแก้ไข

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การใช้ Google Form เพื่อสร้างแบบสอบถาม Online

           Google Form เป็นบริการจากบริษัท Google ที่ใช้สร้างแบบสอบถามหรือรวบรวมข้อมูลอื่น ๆ ทางออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายกรณี เช่น 

        - การวางแผนการจัดงานต่าง ๆ

        - การสำรวจความพึงพอใจหรือความเห็น

        - การเก็บข้อมูลแทนการกรอกแบบฟอร์มกระดาษ

        - การทำแบบทดสอบ

        - การลงคะแนนเสีย

ขั้นตอนการทาแบบสอบถามออนไลน์

1. ให้ลงชื่อเข้าใช้ Google Account เพื่อใช้บริการของ Google ก่อน 

2. เมื่อลงชื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว หน้าเว็บของผู้ใช้งานจะกลับมายังหน้า Google search 

3. คลิกไปที่ "Application -> Drive" เพื่อไปยัง Google Drive

4. เริ่มต้นสร้างแบบฟอร์ม โดยไปที่ "ใหม่ -> เพิ่มเติม -> Google Form"

5. เมื่อเข้าสู่หน้าออกแบบฟอร์ม ขั้นตอนแรกให้ผู้ใช้งานตั้งชื่อแบบฟอร์ม (ดังรูปภาพด้านล่าง)

6. การสร้างแบบสอบถามซึ่งผู้ใช้ (user) สร้างจากแบบสอบถามเปล่า หรือเลือกจาก template ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งสามารถตกแต่งรูปแบบเอกสารให้สวยงาม

7. ตั้งชื่อแบบฟอร์ม "แบบสำรวจข้อมูลความพึงพอใจ" เมื่อกรอกเสร็จให้คลิกที่ "ตกลง"

8. จากนั้นกรอกหัวข้อหลักของแบบสอบถาม และหัวข้อรองของแบบสอบถาม

9. ขั้นตอนต่อเป็นแทรกข้อความลงในแบบฟอร์ม ก่อนที่จะแทรกข้อความลงไปให้ทำการลบรูปแบบฟอร์มที่ถูกสร้างอยู่แล้วออกก่อนโดยคลิกที่ รูปถังขยะของรูปแบบฟอร์มนั้น ๆ

10. ต่อไปเราจะมาเริ่มทำแบบฟอร์ม โดยจะเริ่มต้นออกแบบจากตอนที่ 1 ของแบบสอบถามตัวอย่าง ซึ่งการแทรกข้อความลงในแบบฟอร์มเราสามารถใช้รูปแบบที่เป็น "ส่วนหัวของส่วนหัว" และใช้รูปแบบฟอร์ม ที่สามารถเลือกได้เพียงตัวเลือกเดียวนั้นก็คือรูปแบบ "หลายตัวเลือก"

11. วิธีการแทรกข้อความลงในแบบฟอร์มนั้น ผู้ใช้งานสามารถแทรกข้อความธรรมดาลงในแบบฟอร์มได้โดยเลือกที่ "เพิ่มรายการ" จากนั้นเลือกที่ "ส่วนหัวของส่วน"

12. แทรกข้อความที่ต้องการแสดงลงไป "ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้งาน" เมื่อแทรกข้อความเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ "เสร็จ"

13. ขั้นตอนต่อไป เราจะทำการเพิ่มรูปแบบฟอร์ม "หลายตัวเลือก" ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล บุคลากรนอกมหาวิทยาลัย, บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย, นักศึกษา โดยให้ผู้กรอกนั้นสามารถเลือกได้เพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้น วิธีการเพิ่มฟอร์มให้ไปที่ "เพิ่มรายการ" -> "หลายตัวเลือก"

14. กรอกหัวข้อคำถามลงไปในช่อง "หัวข้อคำถาม" และกรอกข้อความลงในตัวเลือก หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้ ติ๊กถูกที่ช่อง "คำถามที่ต้องตอบ" เพื่อกำหนดให้ผู้กรอกต้องตอบคำถามข้อนี้ในลงแบบฟอร์ม เมื่อกรอกเสร็จแล้วให้คลิกที่ "เสร็จ"

15. หลังจากที่เราได้สร้างรูปแบบฟอร์ม "หลายตัวเลือก" ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล บุคลากรนอกมหาวิทยาลัย, บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย, นักศึกษา ในตอนที่ 1 นั้น ในหน้าของการออกแบบ เราจะสังเกตุเห็นเครื่องหมาย * สีแดงปรากฏอยู่หลังหัวข้อคำถามเพื่อให้ผู้กรอกได้ทราบว่าเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ

16. ต่อไปเป็นการออกแบบฟอร์มในตอนที่ 2 ของแบบสอบถามตัวอย่าง โดยการแทรกข้อความ "ส่วนหัวของส่วน" ของตอนที่ 2 นั้น เราจะไม่สร้างรูปแบบฟอร์มใหม่ แต่จะเป็นการทำสำเนาของรูปแบบฟอร์ม "ส่วนหัวของส่วน" ของตอนที่ 1 ขึ้นมาใหม่อีก 1 รายการและทำการแก้ไขและย้ายตำแหน่ง

17. วิธีการทำสำเนาใหม่ให้คลิกที่ รูปกระดาษซ้อนกัน ข้างหลังรูปแบบฟอร์มที่ต้องการทำสำเนา ในตัวอย่างภาพด้านล่าง เราจะทำการทำสำเนาของ "ส่วนหัวของส่วน" ในตอนที่ 1

18. จากนั้นทำการแก้ไขข้อความ ให้เปลี่ยนเป็นตอนที่ 2 "ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการใช้บริการ…" เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ "เสร็จ"

19. หลังจากกดเสร็จสิ้นแล้ว รูปแบบฟอร์ม "ส่วนหัวของส่วน" ที่เราทำสำเนาขึ้นมาใหม่ จะปรากฏอยู่ด้านล่างของต้นฉบับที่เราได้ทำสำเนา 

20. ต่อไป เราจะทำการย้ายตาแหน่ง "ส่วนหัวของส่วน" ของตอนที่ 2 ให้ลงมาอยู่ด้านล่างสุด วิธีการย้ายตำแหน่งนั้น เราสามารถคลิกเมาส์ค้างไว้ที่รายการนั้น ๆ และลากเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

21. หลังจากปล่อยเมาส์ รายการนั้น ๆ ก็จะถูกย้ายไปยังตาแหน่งที่เราต้องการ

22. ขั้นตอนต่อไป ในส่วนของตอนที่ 2 ของแบบฟอร์มตัวอย่าง การเก็บข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบตาราง ซึ่ง Google form ก็สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางได้เช่นกัน ส่วนวิธีการสร้างรูปแบบฟอร์มนั้น ให้ไปที่ "เพิ่มรายการ" -> "เส้นตาราง"




23. จากนั้นให้เรากรอกหัวข้อคำถาม ซึ่งหัวข้อคำถามก็คือหัวข้อหลักของแต่ละตาราง ต่อไปให้กรอกป้ายกำกับแถวแนวนอน นั้นก็หมายถึง หัวข้อย่อยในการประเมินของหัวข้อหลัก และคอลัมน์ก็คือค่าคะแนน ซึ่งวิธีการนี้สามารถนำไปสร้างทั้ง 3 ตาราง ที่อยู่ในตอนที่ 2 นั้นก็คือ ด้านโสตทัศนูปกรณ์ภายในห้อง, ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่, ด้านการให้บริการห้องปฏิบัติการนวัตกรรม ส่วนวิธีการสร้างตารางทั้ง 3 นั้นใช้วิธีเดียวกันทั้งหมด

24. เมื่อกรอกข้อมูล หัวข้อคำถาม ป้ายกำกับ คอลัมน์ ลงในรูปแบบฟอร์มของตารางเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้คลิกที่ "เสร็จ" และการสร้างตารางต่อไปนั้น เราจะทำสำเนาใหม่และแก้ไขข้อมูล หรือสร้างรายการ "เส้นตารางใหม่" ขึ้นก็ได้

25. ตัวอย่างรูปแบบตารางตอนที่ 2 ของ Google form

26. ต่อไปในส่วนของ ตอนที่ 3 จะเป็นการแทรกรายการที่ใช้สำหรับกรอกข้อมูลเป็นตัวอักษรที่มีจำนวนมาก ซึ่งรูปแบบฟอร์มรับข้อมูลเราจะใช้เป็น "ข้อความย่อหน้า"

27. ในส่วนของข้อความ "ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะทั่วไป" ใช้รูปแบบรายการแบบ "ส่วนหัวของส่วน" เหมือนกับข้อความตอนที่ 1 และตอนที่ 2

28. ในการเพิ่มรายการกล่องข้อความนั้น ซึ่งรูปแบบฟอร์มรับข้อมูลแบบกล่องข้อความกล่องใหญ่ ควรจะใช้เป็นรายการ "ข้อความย่อหน้า" การเพิ่มรายการเราสามารถเพิ่มได้ที่ "เพิ่มรายการ" -> "ข้อความย่อหน้า"

29. แทรกหัวข้อลงไปในช่องหัวข้อคำถาม จากนั้นกด "เสร็จ"

30. ในตัวอย่างแบบฟอร์มสำรวจ จะมีหัวห้อคำถามอยู่ 3 ข้อ โดยทั้ง 3 ข้อจะใช้วิธีการเพิ่มรายการรูปแบบเดียวกัน นั้นก็คือ "ข้อความย่อหน้า"

31. หลังจากออกแบบฟอร์มสำรวจแบบความพึงพอใจตามตัวอย่างที่ให้ไปเสร็จสิ้น ทีนี้เราลองมาเปลี่ยนมุมมองแบบฟอร์มที่เราได้สร้างไว้แล้วกันดีกว่า ว่ารูปร่างหน้าตาแบบฟอร์มที่เราได้ออกแบบไว้จะเป็นหน้าตาอย่างไร

วิธีดูตัวอย่างแบบฟอร์มออนไลน์

1. โดยวิธีการดูตัวอย่างแบบฟอร์ม สามารถคลิกดูได้ที่ "Preview"


เริ่มแชร์แบบฟอร์มออนไลน์ 

1. หลังจากดูตัวอย่างฟอร์มที่เราได้ออกแบบแล้ว หากต้องการที่จะเผยแพร่หรือแชร์ให้กับผู้กรอก ให้คลิกที่ "Send"

2. การส่งฟอร์มจะมีอยู่ 3 วิธี 1. ส่งลิ้ง 2. การแชร์ผ่าน Social 3. ส่งฟอร์มผ่าน E-mail 

3. โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคงจะเป็นวิธีที่ 1 คือการ Copy ลิ้ง และนาลิ้งแบบฟอร์มส่งไปเผยแพร่ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

ขั้นตอนการสร้างแบบฟอร์มออนไลน์ Google form ไม่ซับซ้อน ซึ่งมีประโยชน์สามารถนามาใช้สร้างแบบประเมินโครงการ วิทยากร และการทดสอบ ทาให้หน่วยงานสามารถรวบรวมและรับทราบผลประเมินได้ อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน







วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

COS4301 - การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

 คำอธิบายรายวิชา  COS4301 - การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Pre-field Experiences of Computer Science)

                หลักการ แนวคิด และกระบวนของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องความรู้พื้นฐานและเทคนิคในการสมัครงานอาชีพ ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ ระบบการบริหารคุณภาพในสถานประกอบการ เทคนิคการนำเสนอ การเขียนรายงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ

1. ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ|English for information technology

2. เมทาดาทาสำหรับการจัดระบบสารสนเทศดิจิทัล | Metadata for Organizing Digital Information

3. หุ่นยนต์เคลื่อนที่ขนาดเล็กควบคุม ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ |A small mobile robot controlled by a microcontroller

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิธีการทดสอบ (white box, black box) Software Testing

 วิธีการทดสอบ (white box, black box) Software Testing

วิธีการทดสอบจะเแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
- Functional testing (Black box testing)
- Structural (White box testing
1. Functional testing (Black box testing) จะมองทั้งระบบเป็นเหมือน กล่องดำ(black box) ไม่สนใจว่าการทำงานภายในเป็นอย่างไร เช่น การทำงานของเครื่องจักร โดยเราแค่ป้อนคำสั่งให้เครื่องจักร แล้วดูว่าเครื่องจักรทำงานถูกต้องหรือไม่ โดยที่ไม่สนใจกระบวนการทำงานว่าข้างในทำอะไรบ้าง เป็นต้น ส่วนการสร้างกรณีทดสอบจะต้องใช้เอกสารกำหนดคุณลักษณะความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์(Requirement specification)
ข้อดีของการทดสอบแบบ functional Testing คือ
- กรณีทดสอบจะไม่ขึ้นกับวิธีการสร้างซอฟต์แวร์ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานภายใน แต่กรณีทดสอบก็ยังสามารถใช้ได้อยู่
- สามารถออกแบบกรณีทดสอบไปพร้อมๆกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ ทำให้ลดเวลาโดยรวมของการพัฒนาซอฟแวร์ลงไปได้
ข้อด้อยของการทดสอบแบบ functional Testing คือ
- กรณีทดสอบอาจมีการซ้ำซ้อนกันได้ โดยอาจจะไปทดสอบซ้ำกับการทำงานเดิมภายใน black box ทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
- การทดสอบอาจจะไม่ครอบคลุมการทำงานทั้งหมดภายใน black box อาจมีช่องว่าที่ไม่ได้ทดสอบโดยที่เราไม่รู้
ตัวอย่างการใช้งาน


Test-CaseTest-StepExpect-Result
(ตัวอย่าง valid case) 
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบด้วย username และ password ที่ถูกต้อง
1. เปิดหน้า login
2. ใส่ username <user>
3. ใส่ password <1234>
4. กดปุ่ม login
1. ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่ระบบได้
2. ระบบแสดงหน้าข้อมูลส่วนตัว
3. ระบบแสดงข้อความ "ยินดีต้อนรับ"
(ตัวอย่าง Invalid case) 
ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วย password ผิด
1. เปิดหน้า login
2. ใส่ username <user>
3. ใส่ password <43211234>
4. กดปุ่ม login
1. ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้
2. ระบบแสดงข้อความ "ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้" กรุณาตรวจสอบ user name หรือ password
2. Structural testing(White box testing) การทดสอบแบบ white box นั้นจะต้องรู้ว่าซอฟต์แวร์สร้างขึ้นมาอย่างไร และใช้การทำงานนั้นสร้างกรณีทดสอบขึ้นมาโดยจะต้องกำหนดกรณีทดสอบตามขั้นตอนการทำงานของฟังก์ชันที่สร้างขึ้นมาจริงๆ
เปรียบเทียบการทำงาน
ทั้งการทดสอบแบบ Black box และ White box มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกรณีทดสอบขึ้นมาทดสอบซอฟต์แวร์ ในส่วนของ Black box จะอาศัยข้อมูลจาก requirement specification เพียงอย่างเดียวในการสร้างกรณีทดสอบ ส่วนการทดสอบแบบ White box นั้น จะอาศัยขั้นตอนการทำงาน ของซอฟต์แวร์ หรือ source code เพียงอย่างเดียวในการสร้างกรณีทดสอบ ดังนั้นเราจะต้องใช้การทดสอบทั้ง 2 วิธีร่วมกัน  เช่น
- ถ้าเราใช้การทดสอบแบบ White box เพียงอย่างเดียวเราก็จะไม่รู้ว่าเราพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ ตาม
requirement specification ครบแล้วหรือไม่ และไม่สามารถบอกได้ว่ายังมี requierment specification ส่วนไหนที่ยังไม่ได้พัฒนา
- ถ้าเราใช้การทดสอบแบบ Black box เพียงอย่างเดียว ในกรณีที่มีการสร้างฟังก์ชันที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ใน requirement specification จะไม่สามารถบอกได้ว่าสร้างฟังก์ชันที่นอกเหนือกับที่กำหนดไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------