วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รายการสอน

แบบประเมินผู้สอน
ภาคการศึกษา 2/2567
        2. COS3002 - วิธีการทางสถิติสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์
        3. CSC2103 - วิธีการทางสถิติสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์
        4. CIT4103 - คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล
ภาคการศึกษา 1/2567
        6. CSC3114 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
        7. CSC3227 - การทำเหมืองข้อมูล
        8. COS1206 - วิทยาศาสตร์ข้อมูลเบื้องต้น
        9. COS2105 - ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์
ภาคการศึกษา 3/2566
ภาคการศึกษา 2/2566
        3. COS3002 - วิธีการทางสถิติสำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์
        4. CIT4103 - คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล
        5. COS1206 - วิทยาศาสตร์ข้อมูลเบื้องต้น
        6. CSC1105 - สถาปัตยกรรมและระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ภาคการศึกษา 1/2566
ภาคการศึกษา 3/2565
ภาคการศึกษา 2/2565
         4. CIT4103 - คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล
ภาคการศึกษา 3/2564
         1. GEN4107 - ชีวิตและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ 
ภาคการศึกษา 2/2564
         1. CIT4103 - คลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล 
ภาคการศึกษา 2/2563
ภาคการศึกษา 1/2563
         1. GEN4107 - ชีวิตและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ 
         2. CIT1001 - พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
         3. COS3103 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
         4. COS3001 - วิยุตคณิตศาสตร์
         5. ITE4103 - คลังข้อมูลและการขุดค้นข้อมูล
ภาคการศึกษา 3/2562
         1. GEN4107 - ชีวิตและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ 
ภาคการศึกษา 2/2562
         1. ITE4103 - คลังข้อมูลและการขุดค้นข้อมูล
         2. CSI3202 - การทำเหมืองข้อมูล
         3. CSI4203 - ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
         4. CIT1003 - ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
ภาคการศึกษา 1/2562
         1. CSI3102 - วิศวกรรมซอฟต์แวร์
         2. CIT1001 - พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
         3GEN4103 - การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน
         4. ITE4001 - โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาคการศึกษา 2/2561
         1. ITE1001 - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
         2. CSI3202 - การทำเหมืองข้อมูล
         3. CSI4203 - ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์           
         4GEN4103 - การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน
         5. CIT1003 - ระบบปฏิบัติการและเทคโนโลยีแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
ภาคการศึกษา 1/2561
         1GEN4103 - การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน
         2. ITE2002 - โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี
         3. ITE2003 - เทคโนโลยีแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
         4ITE1001 - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
         5. CIT1001 - พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาคการศึกษา 2/2560
         1. ITE1001 - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
         2. CSI3202 - การทำเหมืองข้อมูล
         3. CSI4203 - ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์           
         4GEN4103 การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน
ภาคการศึกษา 1/2560          
         1. ITE1001 - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น         
         2. GEN4103 การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน         
         3. ITE2002 - โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี         
         4. ITE2003 - เทคโนโลยีแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
ภาคการศึกษา 2/2559
           1. ITE1001 - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
           2. CSI3202 - การทำเหมืองข้อมูล
           3. CSI4203 - ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ภาคการศึกษา 1/2559
           1. ITE1001 - คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
           2. GEN4103 การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน
           3. CSI3106 - การบริการบนเว็บและสถาปัตยกรรมการบริการ
           4. CSI2206 - ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม
ภาคการศึกษา 2/2558
          1. GET4103 - เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน
          2. CSI3202 - การทำเหมืองข้อมูล Data Mining
          3. 4123502 - ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ภาคการศึกษา 1/2558
           1. 4124905 - หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
           2. CSI3106 - การบริการบนเว็บและสถาปัตยกรรมการบริการ
           3. GET4103 - เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน
           4. 4123617 - การประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย
           5. 4122603 - คอมพิวเตอร์กราฟิก


มคอ.3

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

GED2104 - ชีวิตและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

คำอธิบายรายวิชา  GED2104 - ชีวิตและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ (Life and Modern Technology) 3(2-2-5)

             ความหมาย แนวคิด บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ต่อการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวโน้ม ผลกระทบของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เพื่อการดำเนินชีวิต และเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

             Meanings concepts of modern technology; roles of modern technology in everyday life and in the 21st Century learning; trends and impacts of information technology in the future; application of modern technology in daily life and in local community development


เอกสารประกอบการสอน

มคอ.3 

เอกสารประกอบการสอน:Downloads
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่PDF
บทที่ 2 การสืบค้นข้อมูลและการทำงานร่วมกันผ่านระบบออนไลน์
PDF
บทที่ 3 การสร้างและจัดการเอกสารผ่านระบบคลาวด์PDF
บทที่ 4 การสร้างเอกสารตารางทำการหรือ สเปรดชีต (spreadsheet) ผ่านระบบคลาวด์PDF
บทที่ 5 การสร้างงานนำเสนอโดยใช้เครื่องมือหรือแอพพลิเคชันออนไลน์PDF
บทที่ 6 การสร้างสื่อโดยใช้อินโฟกราฟิก (Infographic) สำหรับนำเสนอข้อมูลPDF
บทที่ 7 การสร้างแบบสอบถามออนไลน์
PDF
บทที่ 8 สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) การประยุกต์ใช้ และความปลอดภัยในการใช้งานPDF

บทที่ 9 การสร้างและออกแบบ e-book สำหรับนำเสนอข้อมูลบน social media

PDF

บทที่ 10 การสร้างและออกแบบเว็บไซต์อย่างง่ายโดยใช้ google sites

PDF
บทที่ 11 เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน (Disruptive Technologies)PDF
บทที่ 12 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่สำหรับแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนPDF
Lab 1 การสมัครเข้าใช้งาน Gmail PDF
Lab 2 - GoogleDrivePDF
Lab3 - Google-ClassroomPDF
Lab4 - Canva ToolPDF PDF



วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

7 วิธี ลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟม

              ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาลำดับต้น ๆ ที่ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข เทศบาลตำบลสันป่าตอง เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันมีการนำถุงพลาสติกและกล่องโฟมมาใช้กันโดยทั่วไป ทั้งในระดับชุมชนจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาอุดตันท่อระบายน้ำ เกิดทัศนียภาพที่ไม่น่ามอง นอกจากนี้ กระบวนการผลิตจนถึงการกำจัดถุงพลาสติกและกล่องโฟมหลังการใช้งานก่อให้เกิดมลภาวะ ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย การแก้ปัญหาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน ช่วยกันลดการใช้ถุงพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโฟมด้วยวิธีง่าย ๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการรับถุงพลาสติกเมื่อซื้อของน้อยชิ้น

2. เลือกใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้ซ้ำได้ เช่น ถุงผ้า ตะกร้า ปิ่นโต เป็นต้น

3. พกของใช้ส่วนตัวที่ต้องใช้ประจำ เช่น ขวดน้ำหรือแก้วน้ำ เพื่อลดการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก

4. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทําจากวัสดุที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เช่น บรรจุภัณฑ์ชานอ้อยหรือกระดาษ

5. คัดแยกขยะโดยหลังจากการใช้งานพลาสติกและกล่องโฟมแล้วให้ทําความสะอาด แยกทิ้งโดยไม่ทิ้งปะปนกับขยะประเภทอื่น

6. ซื้อของครั้งละมาก ๆ เพื่อลดการรับถุงพลาสติกจากการซื้อของบ่อย ๆ

7. นำถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำ

              เพียงเราทุกคนร่วมทำตาม 7 แนวทางในการลดใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมที่กล่าวมาข้างต้น เท่านี้เราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของพลังสำคัญในการช่วยกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนได้

ขอบคณข้อมูลจาก : เทศบาลตำบลสันป่าตอง

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566

COS3205 - การออกแบบสื่อผสม

คำอธิบายรายวิชา  COS3205 - การออกแบบสื่อผสม (Multimedia Design) 3(2-2-5)
        
            ลักษณะและองค์ประกอบของสื่อมัลติมีเดีย ประเภทและการใช้งานของสื่อ มัลติมีเดีย การแปลงข้อมูลมัลติมีเดียให้อยู่ในรูปดิจิตอล หลักการลดขนาดข้อมูลที่ จัดเก็บ การปรับแต่งข้อมูลของมัลติมีเดีย ความรู้เบื้องต้นในการผลิตสื่อ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวในระบบดิจิตอล การผลิตสื่อมัลติมีเดียโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านสื่อมัลติมีเดีย

เอกสารประกอบการสอน


เอกสารประกอบการสอน:Downloads
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อประสมPDF
บทที่ 2 ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อประสม
PDF
บทที่ 3 หลักการออกแบบสื่อประสมPDF
บทที่ 4 การออกแบบสื่อประสมPDF
บทที่ 5 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการออกแบบและผลิตสื่อประสม : LabPDF
บทที่ 6 การจัดองค์ประกอบของสื่อประสม : LabPDF
บทที่ 7 การพัฒนาสื่อประสมและการนำไปใช้งานด้านต่าง ๆ
PDF
บทที่ 8 การประเมินผลสื่อประสมPDF
บทที่ 9 ประโยชน์จากการใช้งานสื่อประสมPDF
บทที่ 10 แนวโน้มการพัฒนาสื่อประสมในอนาคตPDF
Lab1 : 5 ประเภทของภาพถ่ายที่ได้รับความนิยมตลอดกาลDocunemt
Lab2Docunemt
Lab3Docunemt
Lab4Docunemt
Lab5Docunemt

 

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism)

            อาหารอีสาน อาหารพื้นเมืองของคนอีสาน เอกลักษณ์ของอาหารอีสาน ส้มตำ ลาบ ข้าวเหนียว ปลาร้า อาหารอีสานเป็นที่นิยม ร้านอาหารอีสานมีอยู่ทั่วไป สูตรอาหารที่ทำกินเองได้ [4]

            อาหารอีสาน อาหารไทย อาหารท้องถิ่น อาหารพื้นบ้าน อาหารอีสาน คือ อาหารพื้นเมือง อาหารพื้นบ้าน ชาวอีสาน เอกลักษณ์ของอาหารอีสาน คือ ส้มตำ ลาบ ข้าวเหนียว และ ปลาร้า อาหารอีสาน ได้รับความนิยมในประเทศไทย ร้านอาหารอีสาน มีอยู่ทั่วไป รวมสูตรอาหารต่างๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูตรอาหารที่ทำกินเองที่บ้านได้

            การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) หมายถึง การเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่ง ผลิตอาหาร เทศกาลอาหาร ร้านอาหาร และการเรียนรู้ประสบการณ์ทางด้านอาหารในการชิมอาหารและ เครื่องดื่มผสมผสานการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์ [1,3]

            การท่องเที่ยวเชิงอาหาร คืออะไร ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงอาหารมีคุณค่ามากกว่าแค่การดื่มกินอาหารเด็ดเมนูดังตามแหล่งท่องเที่ยว แต่ยังครอบคลุมไปถึงการผลิต (เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เยี่ยมชมแหล่งผลิตแบบพื้นถิ่น) ไปจนถึงขั้นหลังการบริโภค (เช่น การผลิตสินค้าที่ระลึกเพิ่มมูลค่า หรือแม้แต่การจัดการเศษอาหารเหลือทิ้ง) ด้วยความต่อเนื่องนี้จะเป็นโอกาสอันดีให้นักท่องเที่ยวได้เติมเต็มประสบการณ์และสัมผัสกิจกรรมท่องเที่ยวอันหลากหลายที่เกี่ยวเนื่องมาจากอาหาร ซึ่งจะยังประโยชน์ให้เกิดกับสังคมเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว [2]

              เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็คือ การนำสินค้าหรือบริการมาเพิ่มมูลค่า โดยผ่านการคิดอย่างสร้างสรรค์ และนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงพื้นฐานทางวัฒนธรรม สังคม เข้ามาช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานนั่นเอง [5]

              ค้นหาร้านอาหารที่ได้รับการคัดเลือกโดย 'มิชลิน ไกด์' [6]

คำสำคัญ : การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, อาหารอีสาน, เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และมิชลิน ไกด์

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

[1] ภูริ ชุณห์ขจร และชวลีย์ณ ถลาง. (2564). องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงอาหารและส่วนประสมทางการตลาดบริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารชายฝั่งทะเลตะวันตก, Dusit Thani College Journal Vol.15 No.1 January - April 2021, P(66-82), Dusit Thani College.

[2] Gastronomy : การท่องเที่ยวเชิงอาหาร

[3] รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง

[4] อาหารอีสาน

[5] เศรษฐกิจสร้างสรรค์

[6] มิชลิน ไกด์

การสร้าง E-book โดยใช้ canva

 Canva คืออะไร

        Canva เป็นแอพพลิเคชันสำหรับสร้างสื่อการนำเสนอหลากหลายรูปแบบ เช่น Presentation, Poster, Card, Resume,Certificate, Infographic เป็นต้น ซึ่ง Canva นั้น จะมีขนาดมาตรฐานให้เลือกหรือผู้ใช้สามารถกำหนดขนาดเองได้ Canva ใช้งานง่าย สวยงาม สามารถแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นได้

คู่มือการใช้งาน

ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ 2 รูปแบบ

    - ผ่านแอพพลิเคชัน Canva

    - ผ่านเว็บไซต์ www.canva.com

การใช้งานผ่านเว็บไซต์

1. การสมัครเข้าใช้งาน ผู้ใช้สามารถสมัครใช้งานด้วยบัญชีผู้ใช้ facebook,Google mail (G-mail) หรือสมัครด้วยอีเมลอื่น ๆ

2. หน้าแรกเมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะปรากฏหน้าเว็บไซต์ของ Canva โดยแบ่งส่วนต่าง ๆ ดังนี้

2.1 ส่วนจัดการออกแบบของเรา


2.2 ส่วนการสร้างโดยแต่ละงานออกแบบจะมีขนาดที่กำหนดมาให้และกำหนดขนาดเองได้เช่นกัน โดยพิมพ์ค้นหาคำว่า "E book" เพื่อทำการเลือก Template ที่เราต้องการใช้ในการออกแบบ


2.3 กด "Enter" เพื่ทำการค้นหารูปแบบ E book ที่เราต้องการ และเลือกรูปแบบที่เราต้องการ 

3. เมื่อได้รูปแบบที่ต้องการ ก็เข้าสู่ขั้นตอนการใส่ข้อมูล เช่น ปก เนื้อหา รูปภาพประกอบ เป็นต้น



4. ใส่ข้อมูลผู้แต่ง และหัวข้อที่ต้องการทำ E-book 


5. เพิ่มหน้าที่ 2 โดยการกดที่ "Add Page"


6. ใส่ข้อมูลตามที่เราต้องกา



7. เพิ่มข้อมูลต่าง ๆ ของหนังสือที่เราต้องการโดยหากต้องการเพิ่มประเภทข้อมูลอักษรให้เลือกที่ "Text" 



8. หากต้องการเพิ่มภาพประกอบที่เรา Up Load ให้เลือกที่ Uploads และเลือกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา





9. เมื่อเสร็จสิ้นจากการใส่ข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้เราทำการ Shared ข้อมูล E book โดยเลือกที่ปุ่ม "Shared" 


10. เปลี่ยนสถานะการ Shared Link ให้เป็นดังภาพ และเลือก  " Anyone with the link" เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง E book ที่เราสร้างขึ้น และเลือกข้อมูลให้เป็น "Canview" เท่านั้น เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อมูลหนังสือ



11. Copy Link จาก Canva ส่งลงใน Google Class room 






วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565

รู้ก่อนแยก ลดขยะให้เป็นศูนย์

            การแยกขยะช่วยโลกได้มากกว่าที่คิด เพราะเมื่อเราแยกขยะที่รีไซเคิลได้ จะทำให้เหลือขยะจริงๆ ที่ต้องนำไปกำจัดน้อยลงเท่ากับเราได้ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการก่อมลภาวะไปในตัว เรามาดูกันดีกว่าว่า ต้องแยกขยะยังไงให้ถูกวิธี

🗑️"ประเภทของถังขยะ" เราจะแยกขยะออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย โดยขยะแต่ละประเภทจะมีถังในการจัดเก็บแยกเป็นสีของตัวเองเพื่อให้ง่ายในการจดจำ

1. ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ขยะเปียก (สีเขียว) ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เศษใบไม้แห้ง โดยเราสามารถนำขยะประเภทนี้มาทำเป็นปุ๋ยหมักได้

2. ถังขยะสำหรับขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน) เป็นขยะที่มักจะย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าต่อการรีไซเคิล  เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก กระดาษชานอ้อย โดยขยะประเภทนี้จะถูกนำไปฝังกลบเพื่อรอการย่อยสลาย

3. ถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล (สีเหลือง) ขยะรีไซเคิลก็คือขยะที่สามารถผ่านกระบวนการแล้วนำมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง กระดาษ โดยขยะประเภทนี้เมื่อถูกแยกแล้วอาจจะถูกแปรรูปกลับมาเป็นวัสดุชนิดเดิม เช่น นำขวดน้ำไปผ่านกระบวนการให้กลับมาเป็นขวดน้ำ หรืออาจจะแปรรูปไปเป็นวัสดุอื่น เช่น นำห่วงอะลูมิเนียมไปผลิตขาเทียม เป็นต้น

4. ถังขยะสำหรับขยะอันตราย (สีแดง) ขยะอันตราย คือ ขยะที่ปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ หรือวัตถุติดเชื้อได้ หรือวัตถุกัดกร่อน เช่น ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยาหมดอายุ โดยขยะประเภทนี้จะต้องแยกเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ป้องกันไม่ให้สารพิษต่าง ๆ รั่วลงสู่แหล่งน้ำหรือผิวดิน

"ช่วยลดโลกร้อนง่าย ๆ แค่เริ่มแยกขยะตั้งแต่วันนี้"

#WeLovePTT #ขอบคุณข้อมูลจาก We Love PTT